วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ใช้งานในประเทศไทย 4921237073

คุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 5

ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่านความถี่ Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steerable Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 5 ครอบคลุมประเทศเวียดนาม และประเทศในภูมิภาคอินโดจีนSpecifications
การออกแบบ
ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน
กำลัง
อย่างน้อย 5,000 วัตต์ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน
น้ำหนักเมื่อส่งขึ้นสู่ วงโคจรในอวกาศ
ประมาณ 2,766 กิโลกรัม
มวลในวงโคจร
เมื่อเริ่มใช้งานจะมีน้ำหนักอย่างน้อย 1,600 กิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะมีน้ำหนัก อย่างน้อย 1,220 กิโลกรัม
อายุการใช้งาน
อย่างต่ำ 12 ปี
จำนวนช่องสัญญาณ
C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณ ในย่านความถี่ซีแบนด์เท่ากับ 36 เม็กกะเฮิร์ซ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ (ความถี่ 36 เม็กกะเฮิร์ซ 12 ทรานสพอนเดอร์ และความถี่ 54 เม็กกะเฮิร์ซ 2 ทรานสพอนเดอร์)
ตำแหน่งวงโคจร
78.5 องศาตะวันออก
บริษัทนำส่งดาวเทียม ขึ้นสู่วงโคจร
บริษัทเอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส
วันที่กำหนดส่ง ดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร
27 พฤษภาคม 2549


http://www.thaicom.net/thai/pages/our_satellite.aspx

IPStar

เป็นดาวเทียม ที่ใหญ่ทีสุดในขณะนี้iPSTAR เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางช่องสัญญาณดาวเทียมแบบสองทาง (Two-ways Broadband Internet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) ทั้งนี้ในส่วนของชุดอุปกรณ์ Terminal ได้ถูกออกเแบบมาพิเศษ ให้สามารถใช้งานได้กับดาวเทียมหลายประเภท ทั้งนี้ไม่ได้ผูกติดว่าจะต้องนำมาใช้งานกับดาวเทียม iPSTAR เท่านั้น (ดาวเทียม iPSTAR คาดว่าจะสร้างเสร็จและยิงขึ้นสู่วงโคจรประมาณปลายปี 2546) ในการเปิดให้บริการ iPSTAR ในประเทศไทยจะได้ดำเนินการผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายของ CS Internet เพื่อรองรับความต้องการในการบริการอินเตอร์เน็ตที่หลากหลาย และเพิ่มมากยิ่งขึ้นที่เป็นข้อมูลประเภท ไฟล์ข้อมูล ภาพนิ่ง เสียง หรือข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย อาทิเช่น Video on Demand, รายการทางด้านการศึกษา (E-Learning) และอื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้บริการ iPSTAR สามารถเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ได้ทั่วประเทศ สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งาน ข้อดีของการใช้ iPSTAR ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ เนื่องจาก iPSTAR สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทั้งในย่านธุรกิจ ชุมชนเมือง หรือแม้เต่พื้นที่ห่างไกลที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง ในขณะที่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอื่นๆ เช่น ADSL และ Cable Modem สามารถให้บริการได้เฉพาะพื้นที่เล็กๆ ในย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ เท่านั้น จานรับสัญญาณที่ใช้ ในการรับ-ส่งสัญญาณมีขนาดเล็กกระทัดรัด ช่วยประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สายโทรศัพท์ มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบตลอดเวลา (Always on) โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องต่อสายโทรศัพท์ทุกครั้งเมื่อต้องการใช้อินเตอร์เน็ต





ดาวเทียมไทยคม 2
คุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 1A ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 เป็นดาวเทียมรุ่นแรกของโครงการดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน พื้นที่การให้บริการย่านความถี่ C-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเท
ศจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) ณ ประเทศไทย 36 dBW (เดซิเบลวัตต์) ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) 50 dBW (เดซิเบลวัตต์) Specifications
การออกแบบ
ดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบ Dual Spin
กำลัง
800 วัตต์ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน
น้ำหนักขณะส่งขึ้น วงโคจรในอวกาศ
1,080 กิโลกรัม
มวลในวงโคจร
เมื่อเริ่มใช้งานจะมีน้ำหนัก 629 กิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะมีน้ำหนัก 450 กิโลกรัม
อายุการใช้งาน
15 ปี.
จำนวนช่องสัญญาณ
C-Band ดาวเทียมไทยคม 1A มีจำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวน 10 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ของช่องสัญญาณของ ดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 36 เม็กกะเฮิร์ซ ส่วน Ku-Band ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวนดวงละ 3 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ช่องสัญญาณ ของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 54 เม็กกะเฮิร์ซ
ตำแหน่งวงโคจร
ดาวเทียมไทยคม 1A อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก ดาวเทียมไทยคม 2 อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก
บริษัทนำส่งดาวเทียม ขึ้นสู่วงโคจร
บริษัทเอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส
วันกำหนดส่งดาวเทียม ขึ้นสู่วงโคจร และวันที่เริ่มให้บริการ
ดาวเทียมไทยคม 1A
ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536
มีการย้ายตำแหน่งวงโคจรจาก 78.5 องศาตะวันออก ไปที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540
เริ่มให้บริการ

http://www.thaicom.net/thai/pages/our_satellite.aspx

วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ศัพท์ เทคโนโลยีสารสนเทศ 4921237073

ADSL
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ที่ขนาด bandwidth สูง สำหรับสายโทรศัพท์บ้านและธุรกิจ ADSL มีข้อแตกต่าง จากโทรศัพท์ธรรมดา เนื่องจาก ADSL ให้การติดต่อแบบต่อเนื่อง โดย ADSL มีลักษณะอสมมาตร (asymmetric) จากการแบ่งช่อง ส่งข้อมูลให้การส่งไปยัง ผู้ใช้มากและมีช่องรับข้อมูลน้อย ADSL สามารถทำงานร่วมกับระบบอนาล็อก (เสียง) ในสายเดียวกัน ตามปกติ ADSL ใช้อัตราการส่งไปยังผู้ใช้ปลายทาง (downstream data rate) ตั้งแต่ S/2 Kbps ถึง 6 Mbps รูปแบบของ ADSL ที่รู้จักในชื่อ Universal ADSL หรือ glite ได้รับการกำหนดเบื้องต้นโดย ITU-TS
Buffer
เป็นพื้นที่ร่วมของข้อมูลสำหรับฮาร์ดแวร์ หรือโปรแกรมในการทำงานที่มีความเร็วไม่เท่ากัน หรือความสำคัญที่ต่างกัน buffer ยินยอมให้อุปกรณ์หรือกระบวนการนั้นทำงานโดยอิสระ ในการทำให้ buffer มีประสิทธิภาพนั้น ขนาดของ buffer และ อัลกอริทึมในการเคลื่อนย้ายข้อมูลเข้าและออก buffer และต้องพิจารณาการออกแบบ buffer เช่น สาย ซึ่ง buffer แบบ midpoint holding place แต่ไม่มีความเร็วในการสนับสนุนการประสานของกิจกรรมแบบแยกส่วน
Internet
เป็นระบบ Worldwide ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีจุดกำเนิดจากแนวคิดของ Advanced Research Project Agency (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐในปี 1969 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อก่อตั้งเครือข่ายที่ให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิจัยของมหาวิทยาลัยหนึ่ง สามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้วิจัยของมหาวิทยาลัยอื่น ผลจากการออกแบบของ ARPA net ทำให้ข้อความสามารถส่งเส้นทางหรือเปลี่ยนทางใหม่ได้มากกว่า 1 ทิศทาง และเครือข่ายยังสามารถทำงานได้ ถึงแม้ว่าจะมีบางส่วนถูกทำลายไปทั้งจากทางด้านทหาร หรือภัยธรรมชาติ
Analog

เทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารไร้สายที่ใช้สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปในรูปของคลื่นเสียงผ่านสัญญาณวิทยุ ระบบอนาล็อกจะสามารถจัดช่องสัญญาณให้ใช้งานได้ 1 สายต่อ 1 ช่องสัญญาณ ซึ่งแตกต่างจากระบบดิจิตอลที่สามารถรองรับการใช้งานได้หลายๆ สายพร้อมกันต่อ 1 ช่องสัญญาณ ดังนั้นการสื่อสารไร้สายส่วนใหญ่จึงนิยมใช้ระบบการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล
APIApplication Programming Interface (API)

เป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานที่ใช้สำหรับการให้บริการ ข้อมูล การโทร และการแทรกสัญญาณ ซึ่งโปรแกรมแอพพลิเคชั่นต่างๆ สามารถใช้ในการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย การสื่อสารผ่านโครงข่าย และการสื่อสารระหว่างโปรแกรม ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี BREW รองรับการใช้งานระบบ API ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์การ สื่อสารไร้สาย
Bandwidth

แบนด์วิธ ในวงการสื่อสารไร้สาย หมายถึง ความกว้างของช่องสัญญาณความถี่ที่สามารถรองรับในการส่งสัญญาณ สำหรับการสื่อสารระบบดิจิตอลนั้น แบนด์วิธจะมีหน่วยเป็นบิตต์ต่อวินาที(bps) หรือ กิโลบิตต์ต่อวินาที(Kbps) สำหรับระบบอนาล็อกจะมีหน่วยเป็นเฮิร์ซ (Hz)
Broadband

คือคำเรียกทั่วๆ ไปของระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงชนิดต่างๆ เช่น DSL และโมเด็มผ่านสายเคเบิล บรอดแบนด์ สามารถส่งข้อมูลรูปแบบต่างๆ อาทิ เสียง ข้อมูลและวิดีโอ ได้พร้อมๆกัน บรอดแบนด์หมายถึง เทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดประมาณ 2 Mbps หรือมีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56 K ถึง 40 เท่า
Cache Memory

หรือ หน่วยความจำแคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์
URL ย่อมาจาก :Uniform Resource Locator

คือรหัสค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เป็นบริการสื่อสารเวิล์ดไวด์เว็บ ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ type://host/path/file type : เป็นรูปแบบการสื่อสาร เช่น http , ftp host : เป็นชื่อโฮสต์ของคอมพิวเตอร์เซอร์เวอร์ path : เป็นไดเรกทอรีบนเซิร์ฟเวอร์ในรูปแบบของระบบยูนิกซ์ file : เป็นชื่อไฟล์ข้อมูล เช่น http://www.noknoi.com : ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูลเราต้องทราบที่อยู่ของ home page หรือ URL ก่อน Website ความหมาย : คือระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เก็บ Web Page ต่างๆ หรือคือสถานที่ที่อยู่ของ Home page นั่นเอง คือโปรแกรม ที่ใช้ในการเข้าสู่ www เช่น Internet Explorer และ Netscape Navigator เป็นต้น
CDMA: Code Division Multiple Access (ซีดีเอ็มเอ)

เทคโนโลยีไร้สายดิจิตอลซึ่งใช้เทคนิคของ "การกระจายแถบความถี่" (spread spectrum) เพื่อส่งคลื่นวิทยุผ่านแถบความถี่ช่วงกว้าง เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอมีศักยภาพเหนือชั้นกว่าเทคโนโลยีอื่นๆมาก เพราะให้คุณภาพเสียงที่ชัดเจนและมีโอกาสที่สายหลุดได้ยากกว่า ปัจจุบัน มีผู้ใช้ระบบซีดีเอ็มเออยู่กว่า 212.5 ล้านรายทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และอีกหลายแห่งทั่วโลก
Input/Output

หมายถึงช่องทางติดต่อระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ช่องอินพุท คือ ช่องทางข้อมูลจากตัวเราไหลผ่านคีย์บอร์ดเข้าสู่คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลที่พิมพ์อย่างบรรจง เว้นวรรค จัดรูปแบบ ตรวจทาน ทุ่มเทเวลาและกำลังงานเพื่อให้ข้อมูลเข้าสมบูรณ์พร้อม ส่วนช่องเอ๊าท์พุท คือ ช่องถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังพรินเตอร์ ข้อมูลที่ออกมามักเป็นขยะ ตัวอักษรประหลาดที่จะทำให้คุณกระอักเลือดด้วยความแค้น
cracker แครกเคอร์, นักทำลาย
ผู้ที่เล่นคอมพิวเตอร์เป็นงานอดิเรกที่ถูกห้ามในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ในข่ายงาน เนื่องจากเป็นผู้ที่เข้าไปทำลาย ทรัพยากรต่างๆ และรบกวนระบบทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบได้ลำบาก ในบางครั้งจะมี ผู้ใช้คำ cracker ในความหมายเดียวกับ hacker แต่ที่จริงแล้ว hacker จะมีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเนื่องจากเป็น พวกมีบทบาทสำคัญกว่ามากในคอมพิวเตอร์ ดู computer hacker, hacker ethic และ security ประกอบ
crash ขัดข้อง
ความล้มเหลวของระบบหรือโปรแกรมที่หยุดการทำงานอย่างผิดปกติ ปกติแล้วเราจะทราบว่าระบบเกิดขัดข้องเมื่อไม่สามารถใช้แผงแป้นอักขระหรือเมาส์ได้ เมื่อมีความขัดข้องเกิดขึ้น เราต้องเปิดเครื่องใหม่ด้วยวิธีการ ปลุกเครื่องเย็น (cold boot) คือใช้สวิตช์ในการปิดและเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้คำนี้กับจานบันทึกขัดข้อง (disk crash) หรือหัวอ่าน/บันทึกขัดข้อง (head crash) ได้ด้วย จาน บันทึกขัดข้องเกิดขึ้นเมื่อหัวอ่าน/บันทึกในหน่วยขับตกหรือครูดลงบนจานบันทึก การเกิดจานบันทึกขัดข้องจะทำให้ข้อมูล ในส่วนที่หัวอ่าน/บันทึกครูดบนจานบันทึกนั้นเสียหายไป
crosstalk สัญญาณแทรกข้าม (วงจร)
สัญญาณรบกวนที่เกิดจากสายเคเบิลอยู่ชิดติดกันมากเกินไป เราอาจได้ยินสัญญาณนี้หรือเสียงอื่นแทรกเข้ามาในขณะที่กำลังพูดโทรศัพท์ หรือสัญญาณที่เกิดขึ้นในการเล่นจานวีดิทัศน์ จะเป็นเส้นสีขาวพาดขวางภาพอันเกิดจากการที่แสง เลเซอร์ไม่โฟกัสบนผิวหน้าของแผ่นหรือเกิดจากความสกปรกบนแผ่น เป็นต้น
database ฐานข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้ทำให้เป็นระบบ และจัดให้เป็นฐานสำหรับการค้นคืนข้อมูล การสรุปผล และการตัสินใจ การรวบรวมข้อมูลใดๆ ก็ตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้นับว่าเป็นฐานข้อมูลทั้งสิ้นถึงแม้ว่าจะไม่ได้รวบรวมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม

tp://wbi.srru.ac.th/web/mod/glossary/view.php?id=5
http://www.noknoi.com/magazine/article.php?t=182