วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ใช้งานในประเทศไทย 4921237073

คุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 5

ดาวเทียมไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน ผลิตโดย บริษัท อัลคาเทล อาลีเนีย สเปซ ประกอบด้วยย่านความถี่ C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ และย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยย่านความถี่ C-Band Global Beam ของไทยคม 3 ครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป คือเอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย และแอฟริกา ส่วนพื้นที่การให้บริการของ Spot Beam ในย่านความถี่ Ku-Band นั้นครอบคลุมประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอินโดจีน ส่วน Steerable Beam ในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 5 ครอบคลุมประเทศเวียดนาม และประเทศในภูมิภาคอินโดจีนSpecifications
การออกแบบ
ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่น 3 แกน
กำลัง
อย่างน้อย 5,000 วัตต์ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน
น้ำหนักเมื่อส่งขึ้นสู่ วงโคจรในอวกาศ
ประมาณ 2,766 กิโลกรัม
มวลในวงโคจร
เมื่อเริ่มใช้งานจะมีน้ำหนักอย่างน้อย 1,600 กิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะมีน้ำหนัก อย่างน้อย 1,220 กิโลกรัม
อายุการใช้งาน
อย่างต่ำ 12 ปี
จำนวนช่องสัญญาณ
C-Band จำนวน 25 ทรานสพอนเดอร์ มีความถี่ของช่องสัญญาณ ในย่านความถี่ซีแบนด์เท่ากับ 36 เม็กกะเฮิร์ซ Ku-Band จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์ (ความถี่ 36 เม็กกะเฮิร์ซ 12 ทรานสพอนเดอร์ และความถี่ 54 เม็กกะเฮิร์ซ 2 ทรานสพอนเดอร์)
ตำแหน่งวงโคจร
78.5 องศาตะวันออก
บริษัทนำส่งดาวเทียม ขึ้นสู่วงโคจร
บริษัทเอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส
วันที่กำหนดส่ง ดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร
27 พฤษภาคม 2549


http://www.thaicom.net/thai/pages/our_satellite.aspx

IPStar

เป็นดาวเทียม ที่ใหญ่ทีสุดในขณะนี้iPSTAR เป็นบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางช่องสัญญาณดาวเทียมแบบสองทาง (Two-ways Broadband Internet) ซึ่งมีการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา (Always on) ทั้งนี้ในส่วนของชุดอุปกรณ์ Terminal ได้ถูกออกเแบบมาพิเศษ ให้สามารถใช้งานได้กับดาวเทียมหลายประเภท ทั้งนี้ไม่ได้ผูกติดว่าจะต้องนำมาใช้งานกับดาวเทียม iPSTAR เท่านั้น (ดาวเทียม iPSTAR คาดว่าจะสร้างเสร็จและยิงขึ้นสู่วงโคจรประมาณปลายปี 2546) ในการเปิดให้บริการ iPSTAR ในประเทศไทยจะได้ดำเนินการผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายของ CS Internet เพื่อรองรับความต้องการในการบริการอินเตอร์เน็ตที่หลากหลาย และเพิ่มมากยิ่งขึ้นที่เป็นข้อมูลประเภท ไฟล์ข้อมูล ภาพนิ่ง เสียง หรือข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย อาทิเช่น Video on Demand, รายการทางด้านการศึกษา (E-Learning) และอื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยคุณสมบัติของเทคโนโลยีดาวเทียม จะทำให้บริการ iPSTAR สามารถเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) ได้ทั่วประเทศ สามารถติดตั้งได้รวดเร็ว และสะดวกในการใช้งาน ข้อดีของการใช้ iPSTAR ไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ เนื่องจาก iPSTAR สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทั้งในย่านธุรกิจ ชุมชนเมือง หรือแม้เต่พื้นที่ห่างไกลที่สายโทรศัพท์เข้าไม่ถึง ในขณะที่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงระบบอื่นๆ เช่น ADSL และ Cable Modem สามารถให้บริการได้เฉพาะพื้นที่เล็กๆ ในย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ เท่านั้น จานรับสัญญาณที่ใช้ ในการรับ-ส่งสัญญาณมีขนาดเล็กกระทัดรัด ช่วยประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สายโทรศัพท์ มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบตลอดเวลา (Always on) โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องต่อสายโทรศัพท์ทุกครั้งเมื่อต้องการใช้อินเตอร์เน็ต





ดาวเทียมไทยคม 2
คุณสมบัติของดาวเทียมไทยคม 1A ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 เป็นดาวเทียมรุ่นแรกของโครงการดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงเป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 ผลิตโดย บริษัท ฮิวจ์ แอร์คราฟท์ ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือบริษัทโบอิ้งในปัจจุบัน พื้นที่การให้บริการย่านความถี่ C-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลี ญี่ปุ่น และชายฝั่งตะวันออกของประเท
ศจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) ณ ประเทศไทย 36 dBW (เดซิเบลวัตต์) ส่วนพื้นที่การให้บริการในย่านความถี่ Ku-Band ของดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 ครอบคลุมประเทศไทยและประเทศในแถบอินโดจีน โดยมีความแรงของสัญญาณด้านขาลง (Down Link) 50 dBW (เดซิเบลวัตต์) Specifications
การออกแบบ
ดาวเทียมรุ่น HS-376 แบบ Dual Spin
กำลัง
800 วัตต์ เมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน
น้ำหนักขณะส่งขึ้น วงโคจรในอวกาศ
1,080 กิโลกรัม
มวลในวงโคจร
เมื่อเริ่มใช้งานจะมีน้ำหนัก 629 กิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดการใช้งานจะมีน้ำหนัก 450 กิโลกรัม
อายุการใช้งาน
15 ปี.
จำนวนช่องสัญญาณ
C-Band ดาวเทียมไทยคม 1A มีจำนวน 12 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวน 10 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ของช่องสัญญาณของ ดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 36 เม็กกะเฮิร์ซ ส่วน Ku-Band ดาวเทียมไทยคม 1A และดาวเทียมไทยคม 2 มีจำนวนดวงละ 3 ทรานสพอนเดอร์ โดยความถี่ช่องสัญญาณ ของดาวเทียมทั้งสองดวงอยู่ที่ 54 เม็กกะเฮิร์ซ
ตำแหน่งวงโคจร
ดาวเทียมไทยคม 1A อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก ดาวเทียมไทยคม 2 อยู่ที่ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก
บริษัทนำส่งดาวเทียม ขึ้นสู่วงโคจร
บริษัทเอเรียนสเปซ ประเทศฝรั่งเศส
วันกำหนดส่งดาวเทียม ขึ้นสู่วงโคจร และวันที่เริ่มให้บริการ
ดาวเทียมไทยคม 1A
ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2536
มีการย้ายตำแหน่งวงโคจรจาก 78.5 องศาตะวันออก ไปที่ตำแหน่งวงโคจร 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540
เริ่มให้บริการ

http://www.thaicom.net/thai/pages/our_satellite.aspx